Skip to content Skip to footer

ตอนที่ 7 พัฒนาสติ และรักษาอาการทางจิตด้วย Neurofeedback

นิวโรฟีดแบ็ก (Neurofeedback) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถวัดคลื่นสมอง (EEG Biofeedback) แบบเรียลไทม์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในเพื่อปรับกิจกรรมคลื่นสมองของบุคคล มีจุดมุ่งหมายในการช่วยให้พวกเขาเรียนรู้การปรับ และควบคุมฟังก์ชันสมองของพวกเขา

อุปกรณ์บางตัวจะแสดงรายละเอียดของคลื่นกิจกรรมสมอง ในขณะที่อุปกรณ์บางตัวจะเอาคลื่นสมองไปแปลงเป็นผลลัพธ์ที่เชื่อมโยงกับสถานะการทำงานของสมอง (การใช้ความคิด) สภาพจิตใจ และลักษณะการหายใจ

Neurofeedback เป็นการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยให้เราจับความรู้สึก วิธีการหายใจ พร้อมๆ กับดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองของเราได้ จึงสามารถนำใาช่วยฝึกในการทำสมาธิได้อย่างมีแบบแผน และช่วยให้เราเข้าสู่สมาธิ และภวังค์ (Trance) ได้ง่ายขึ้น

ที่มาของภาพ: https://cristinagillopez.com/

นอกจากด้านจิตวิญญาณ แล้ว Neurofeedback ยังถูกนำมาใช้เป็นวิธีการที่ไม่เจาะจง เพื่อปรับปรุงฟังก์ชันทางจิตใจ สมอง และสติปัญญา ในด้านต่างๆ ได้แก่

  • สมรรถภาพทางจิต (Mental performance)
  • ปรับพฤติกรรมให้ปกติ (Normalize behavior)
  • ความมั่นคงของอารมณ์ (Stabilize mood)
  • ภาวะสมาธิสั้น (Attention deficit disorder/ADHD)
  • ภาวะบกพร่องในการเรียนรู้ (Learning disabilities)
  • โรคปฏิกิริยาความผูกพันผิดปกติ (Attachement disorder)
  • ภาวะซึมเศร้า (Depression)
  • ภาวะวิตกกังวล (Anxiety)
  • โรคลมชัก (Epliepsy)
  • อาการการติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Alchoholism)
  • ออทิสติก (Autistic)
  • ภาวะการทานอาหารผิดปกติ (Eating disorder)
  • ความผิดปกติที่เกี่ยวกับการนอนหลับ (Sleep disorder)
  • ภาวะการนอนไม่หลับ (Insomnia)
  • ไมเกรน (Migraine)
  • โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะทือนขวัญ (Post-traumatic stress disorder)
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder)
  • การบาดเจ็บทางสมองที่รุนแรง (Traumatic brain injury)
  • พฤติกรรมเกเรรุนแรง (Conduct disorder)
  • กลุ่มอาการผิดปกติของทารกจากการดื่มแอลกอฮอล์ของมารดาขณะตั้งครรภ์ (Fetal alcohol syndrome)
  • อาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน (Pre-menstural syndrome)
  • โรคที่แสดงอาการกระตุกของกล้ามเนื้อหลายๆ มัดพร้อมๆ กัน (Tourette’s syndrome)
  • กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome)
  • ความปวดแบบเรื้อรัง (Chronic pain)
  • โรคภูมิคุ้มกันต้านตนเอง (Autoimmune dysfunction)

วิธีการทำงานของ Neurofeedback ทำงานอย่างไร

ก่อนรับการฝึก ผู้เข้าร่วมต้องได้รับการทำแผนที่สมอง QEEG (Quantitative electroencephalograph)
การเก็บแผนที่สมองนั้นจะทำโดยการสวมหมวกที่มีเซนเซอร์ เพื่อตรวจจับคลื่นไฟฟ้าและการทำงานของสมองในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งจะถูกประมวลผลและวิเคราะห์ออกมาในรูปแบบของสีในแต่ละพื้นที่ของสมอง สีที่แสดงออกมาจะบ่งบอกถึงลักษณะกิจกรรมของสมองที่ทำงานมากหรือน้อยเกินไป

ด้วยวิธีการประเมินนี้จะทำให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถเห็นถึงปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่การเตรียมแผนการฝึกฝนได้อย่างเหมาะสม ตรงจุด และมีประสิทธิภาพ

ภาพแสดงตัวอย่าง QEEG Brain mapping ของสมองในคนปกติเปรียบเทียบกับคนที่มีอาการผิดปกติ

ขณะทำการฝึก สมองจะถูกวัดกิจกรรมไฟฟ้าเป็นคลื่นสมองซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มความถี่ต่าง ๆ เช่น อัลฟา บีต้า เดลต้า ธีต้า และแกมมา

กิจกรรมคลื่นสมองถูกประมวลผลและนำเสนอให้แก่บุคคลในเรียลไทม์ บุคคลที่เข้ารับการฝึกจะได้รับคำแนะนำจากผู้ทำการฝึก พร้อมๆ กับสังเกตุการณ์คลื่นสมองของตัวเองไปด้วย เพื่อให้สามารถจดจำได้ว่า การกระทำต่างๆ นั้น จะส่งผลต่อคลื่นสมองของเค้าแบบไหน และต้องทำอย่างไรเพื่อให้คลื่นสมองเข้าสู่สภาวะที่ต้องการ และเมื่อมีการทบทวนการฝึกซ้ำๆ ก็จะทำให้บุคคลนั้นสามารถควบคุมพฤติกรรมได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ Neurofeedback ตลอดเวลา

วิธีการฝึกแบบนี้ จะช่วยให้คนๆ หนึ่งสามารถเรียนรู้ และจดจำได้เร็วกว่าการฝึกที่ไม่มีการแสดงให้เห็นผลของการฝึกผ่านจอแสดงผล เพราะจะช่วยให้ผู้ฝึกได้รู้สึกพร้อมๆ กับการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ การดู และการได้ยิน และเมื่อฝึกต่อเนื่องระยะหนึ่ง ด้วยกลไก Neuroplasticity จะทำให้สมองจะเกิดการเรียนรู้เป็นทักษะใหม่ และช่วยให้เรามีความสามารถในการควบคุมสภาวะการทำงานของสมองได้

ภาพแสดง QEEG Brain map ของผู้ที่มีสภาวะวิตกกังวล (Anxiety) ก่อนและหลังการฝึกด้วย Neurofeedback

ภาพแสดง QEEG Brain map ของผู้ที่มีสภาวะซึมเศร้า (Depression) ก่อนและหลังการฝึกด้วย Neurofeedback

ภาพแสดง QEEG Brain map ของผู้ที่มีเป็นไม่เกรน (Migraine) ก่อนและหลังการฝึกด้วย Neurofeedback

ที่มาของภาพ: https://www.wtxneurosolutions.com/

ผู้ให้บริการทำ Neurofeedback ในประเทศไทย
กรุงเทพฯ | เชียงใหม่

Alchemist Nook